พลังแห่งนิสัย

    พลังแห่งนิสัย 

    "นิสัยส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อวิธีคิดของคน นิสัยที่ดีเป็นปัจจัยกำหนดชะตาชีวิตที่สำคัญยิ่ง"

    "นิสัยตกผลึกเป็นสิ่งละอันพันละน้อยในชีวิต ฝังลึกและค่อยๆ เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราอย่างเงียบๆ"

    "เคล็ดลับแห่งความสำเร็จทั้งปวง อยู่ที่การทะลวงออกจากรังไหมของดักแด้ครั้งแล้วครั้งเล่า รังไหมนั้นเป็นเพียงนิสัย
เท่านั้นเอง"

    "นิสัยเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่ง แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่ ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่านิสัย
ที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนนิสัยบ่อยๆ"

    "นิสัยที่ดีเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ"

    "ชีวิตของคนเรากำหนดจากนิสัยอันเป็นกุญแจชีวิต"

    เบคอน (Bacon) กล่าวอย่างสะท้อนใจว่า “นิสัยคือพลังที่แข็งแกร่งและยิ่งใหญ่จริง พลังดังกล่าวบงการชีวิตของคนๆ หนึ่ง
ได้ ดังนั้น คนเราจึงควรอาศัยการศึกษาปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม”

    วิลเลียม เจมส์ (William James) นักปรัชญาเคยกล่าวว่า “หว่านพฤติกรรมพันธุ์อะไร ผลของอุปนิสัยก็เป็นพันธุ์นั้น หว่านอุปนิสัยพันธุ์อะไร ผลของนิสัยใจคอก็เป็นพันธุ์นั้น หว่านนิสัยใจคอพันธุ์อะไร ผลของชะตากรรมก็เป็นพันธุ์นั้น”

    คุณภาพของคนเราขึ้นอยู่กับนิสัย ซึ่งมีทั้งดีและเสีย ถ้าหากว่ามีนิสัยที่ดี ถึงแม้หนทางที่ลาดไว้จะคดเคี้ยว แต่ในที่สุดก็จะไป
ถึงยอดเขา ไปสู่ความรุ่งโรจน์และดีงามได้!

    นิสัยคือพฤติกรรมหรือแนวโน้มที่ค่อยๆ ปลูกฝังขึ้นมาโดยผ่านกาลเวลาอันยาวนาน จากการวิจัยพบว่า กิจวัตรประจำวันของคนเรามีถึง 90% ล้วนทำไปโดยไร้จิตสำนึกซึ่งถูกครอบงำโดยนิสัยทั้งสิ้น นิสัยมีผลกระทบต่อชีวิตของคนทุกเวลา มันทำให้
การกระทำเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องการความพยายามเป็นพิเศษ ไม่ต้องการให้คนอื่นมาควบคุม เมื่ออยู่ในภาวการณ์อย่างไรก็ทำไปตามปกติวิสัยอย่างนั้น นิสัยเมื่อถูกปลูกฝังขึ้นแล้ว ก็จะมีอิทธิพลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน
 
    จากการวิจัยของหูจื้อเวย นักจิตวิทยาพบว่า การทำงานและการศึกษาเล่าเรียนของคนจะดีหรือไม่ดี มีส่วนเกี่ยวกับปัจจัยทางสติปัญญา 20% อีก 80% ไม่เกี่ยวกับปัจจัยทางสติปัญญา และในเรื่องของปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับสติปัญญา อันมีความเชื่อมั่น ความมุ่งมาด นิสัย และความสนใจ นิสัยก็ครองตำแหน่งที่สำคัญอีก เมื่อเราได้ตระหนักถึงความสำคัญของนิสัย และมีมาตรการปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกลนัก

    มีนิสัยดีจึงจะมีชีวิตที่ดี นิสัยคือสิ่งที่ปลูกฝังขึ้นมาจากการปฏิบัติทีละเล็กทีละน้อย หมุนเวียนกลับไปกลับมา และทำซ้ำ
นับครั้งไม่ถ้วน  ไม่ว่าจะเป็นนิสัยที่ดีหรือเสียก็เป็นเช่นนื้ เพียงแต่ต่างกันที่ผลลัพธ์ นิสัยที่ดีคือคุณธรรมอันดีงาม ส่วนนิสัยเสีย
คือความเกียจคร้าน เมื่อแนวความคิดเปลี่ยนไป พฤติกรรมก็เปลี่ยนตาม เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนไป อุปนิสัยก็เปลี่ยนตาม เมื่อ
อุปนิสัยเปลี่ยนไป นิสัยใจคอก็เปลี่ยนตาม เมื่อนิสัยใจคอเปลี่ยนไป ชะตากรรมก็เปลี่ยนตาม เมื่อชะตากรรมเปลี่ยนไป แล้วชีวิต
ก็จะพลอยเปลี่ยนไปด้วย พลังของนิสัยส่งผลกระทบต่อความประพฤติของคนเป็นเวลายาวนาน กำหนดรูปแบบของความคิด
และการกระทำของคน และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของชีวิตคน มีเพียงความคิดและการปฏิบัติที่เกิดจาก
นิสัยที่ดีเท่านั้น จึงสามารถนำเราไปสู่อนาคตที่ดีงาม

    ภายใต้เงื่อนไขของทิศทางที่ถูกต้อง ความแตกต่างระหว่างผู้ประสบความสำเร็จและผู้ไม่ประสบความสำเร็จ มักอยู่ที่มีการ
ยืนหยัดหรือไม่ ยืนหยัดจนถึงที่สุดหรือไม่ ที่กล่าวกันว่า “หยดน้ำกร่อนหินได้” นั้นถูกต้องแล้ว  แต่ผู้คนมักยกความสำเร็จนี้ให้แก่ “ความมุ่งมั่น” ความจริงมีวิธีสบายกว่าที่ไม่เครียดมากเท่ากับ “ความมุ่งมั่น” นั่นคือ ปลูกฝังการปฏิบัติที่เคยชินลงในจิตใต้สำนึกของคุณ

    จิตสำนึกของคนแบ่งเป็นสามัญสำนึกและจิตใต้สำนึก สามัญสำนึกคือการทำกิจกรรมโดยรู้ตัวว่าตนทำอะไร  ส่วนจิตใต้สำนึกรอคอยอย่างเงียบๆ ภายใต้สามัญสำนึก หากเปรียบจิตสำนึกของคนเรากับภูเขาน้ำแข็งในทะเล สามัญสำนึกก็เป็นเพียง
มุมหนึ่งของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ความล้ำลึกและมหัศจรรย์ของมนุษยชาติจำนวนมากแฝงอยู่ในจิตใต้สำนึกนั่นเอง ผลการศึกษาของนักวิชาการบ่งชี้ว่า 90% ของกิจกรรมประจำวันของคนเรา เป็นอากัปกิริยาที่ปฏิบัติซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง และแปรเป็นความเคยชินในจิตใต้สำนึก ซึ่งหมายความว่า ปฏิบัติการแบบเป็นไปเองโดยไม่ต้องผ่านการคิด การปฏิบัติแบบเป็นไปเองเช่นนี้ ก็คือพลังแห่งนิสัยนั่นเอง มันเป็นพลังมหาศาล ซึ่งเมื่อปฏิบัติเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้องค์ประกอบหลักของตัวเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
 
    หากพูดอย่างเป็นนามธรรมก็คือ พฤติกรรมกลายเป็นความเคยชิน ความเคยชินกลายเป็นอุปนิสัย อุปนิสัยกำหนดชะตากรรม อากัปกิริยาหนึ่ง พฤติกรรมหนึ่ง เมื่อทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ก็สามารถซึมซับเข้าไปในจิตใต้สำนึก กลายเป็นอากัปกิริยาที่เคยชิน การสะสมความรู้ของคนเราก็จะเพิ่มพูนขึ้นจากการนี้ การที่เราทะลวงออกจากกรอบต่างๆ เป็นต้น ล้วนเป็นผลของอากัปกิริยาและพฤติกรรมแห่งความเคยชินที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง หากเรียนรู้เทคนิคการใช้จิตใต้สำนึก ก็สามารถสร้าง “กลไกประสิทธิภาพที่ยาวนาน” ที่ปฏิบัติการได้เอง และบรรลุเป้าหมายแห่งความมานะพยายามของคนเรา
 
    เล่าเรื่องของช้าง “หลินวั่ง” สู่กันฟังสักหน่อย “หลินวั่ง” ถูกขังอยู่ในสวนสัตว์ตั้งแต่เล็ก งวงของมันถูกโซ่ล่ามติดกับหลักไม้ ครั้งหนึ่ง มันอยากดิ้นให้หลุดจากโซ่เพื่อไปเยี่ยมเจ้าน้องลิง ดิ้นแรงเกินไปโดยไม่ทันได้คิด โซ่ดึงรั้งงวงจนเจ็บ “โอ๊ย แย่แล้ว”
หลินวั่งรำพึงในใจด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า “ช้างน้อยอย่างข้าไม่มีวันจะดิ้นหลุดออกจากโซ่นี้ได้หรอก” ครึ่งปีให้หลัง หลินวั่งอยาก
ไปเดินเล่นตามถนน พอดิ้นก็เจ็บงวงอีก “ช้างน้อยอย่างข้าไม่มีวันจะดิ้นหลุดออกจากโซ่นี้ได้หรอก” มันรำพึงรำพันเช่นเดียวกัน
ในความล้มเหลวทั้งสองครั้ง นับแต่นั้น มันก็ไม่กล้าที่จะดิ้นเพื่อให้หลุดจากโซ่อีก หลายปีผ่านไป หลินวั่งน้อยเติบโตขึ้น แต่มา
ถึงตอนนี้ มันไม่คิดจะไปเที่ยวข้างนอกอีกแล้ว เพราะมันคิดว่าตนไม่มีทางจะดิ้นหลุดออกจากโซ่เส้นนั้นได้ ซึ่งความจริงแล้ว
ตอนนี้ถ้ามันดิ้นสักหน่อย ก็สามารถเดินออกไปเที่ยวได้อย่างสง่าผ่าเผย ดังนั้น หลินวั่งจึงอยู่ในโรงเลี้ยงช้างตั้งแต่เล็กจนโต ตั้งแต่โตจนแก่เฒ่า ในที่สุดก็ตายในโรงเลี้ยงช้าง โศกนาฏกรรมเช่นนี้ มิได้เกิดขึ้นในโลกของสัตว์เท่านั้น เราลองถามตนเอง
ดูซิว่า แล้วเราล่ะเป็นหลินวั่งน้อยหรือเปล่า? โอกาสเป็นไปได้มากนะ!
 
    โศกนาฏกรรมของหลินวั่ง อยู่ที่การรับรู้เชิงเชิงลบจากการดิ้นเพื่อให้หลุดจากโซ่ 2 ครั้งว่า ข้าดิ้นไม่หลุดจากโซ่เส้นนั้นหรอก
ปมเงื่อนอยู่ที่นัยยะของการปฏิเสธตนเองทั้ง 2 ครั้ง การประเมินตนเองในเชิงลบทั้ง 2 ครั้งได้ซึมซับเข้าสู่จิตใต้สำนึกของมัน
เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เช่นเดียวกัน ก็จะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับด้วยความเคยชิน จะเห็นได้จากตัวอย่างนี้ว่า เมื่อความเคยชินซึมซับเข้าสู่จิตใต้สำนึก ย่อมเกิดพลังมหาศาล

    คิดดูซิว่า อากัปกิริยาประจำวันของเรา ส่วนใหญ่เป็นเพียงนิสัยเท่านั้น เราตื่นนอนกี่โมง แล้วอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว อ่านหนังสือพิมพ์ ทานอาหารเช้า ขับรถไปทำงานอย่างไร เป็นต้น มีนิสัยเรียบร้อยอย่างที่เราแสดงออกในแต่ละวัน และนี่เป็นการ
เตือนให้เราจำเป็นต้องตรวจสอบนิสัยของตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดูว่านิสัยอะไรบ้างที่เป็นคุณ อะไรบ้างที่ไร้ประโยชน์
อะไรบ้างที่เป็นโทษ จากนั้นเปลี่ยนนิสัยที่เป็นโทษและไร้ประโยชน์ให้เป็นนิสัยที่มีประโยชน์  ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเล็ก
น้อยเพียงไร สั่งสมนานเข้า ย่อมจะได้รับประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    จงจำไว้ว่า หากให้นิสัยเชิงบวกซึมซับเข้าไปในจิตใต้สำนึกของคุณ คุณก็จะเดินไปตามเข็มนำร่องที่ชี้ทางสู่ความสำเร็จได้โดยไม่รู้ตัว จงเริ่มการอ่านเถอะ จิตใต้สำนึกกำลังหลั่งล้นออกมาจากส่วนที่ลึกที่สุดของสมองคุณ

Related Books