ประวัติศาสตร์แว่นตา

ก่อนที่จะไปค้นว่าแว่นตานั้นมาได้อย่างไร ก็ขออนุญาตย้อนไปเรื่อง กระจก และแก้วก่อน เพราะเป็นส่วนประกอบของแว่นตาในยุคแรกๆ ในสมัยโบราณเท่าที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ เชื่อ กันว่าพวกฟินิเชียน ซึ่งอาศัยอยู่ทางฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แถบซีเลีย เริ่มสังเกตว่า หลังจากหุงหาอาหารตามริมฝั่งทะเล เขามักจะได้เศษแก้ว หรือวัตถุคล้ายแก้วปะปนกับกองเถ้าถ่านบนทราย (เฮนรี่เชื่อว่าทุกคนคงทราบว่า ทรายเป็นส่วนประกอบในการทำแก้วแล้วนะคร้าบ..) เรื่องราวได้บันทึกไว้ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราชประมาณ 3,000 ปี นอกจากนี้ยังมีชาติอื่นที่สังเกตพวกนี้ด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีใครคิดจะนำมาทำแว่นสายตา แต่กลับใช้ทำเครื่องประดับแทน ทางด้านอียิปต์ นักโบราณคดีก็ได้ขุดพบแก้วเจียระไนชนิดต่างๆในสุสานบางแห่ง เชื่อว่าก่อน คริสต์ศักราช 2,300 ปี นอกจากนั้นบันทึกทางโรมันได้ บันทึกถึงว่า การใช้แร่ธาตุต่างๆ ผสมเพื่อทำแก้วบริสุทธิ์ และยังบันทึกอีกถึงช่างชาวซีเรีย หรือพวกฟินิเชียนโบราณ ว่ามีความรู้เรื่องกระจกและการทำ  นักโบราณคดีมีหลักฐานยืนยันว่า ชาวซีเรียคงจะเป็นชาติแรกที่รู้ศิลปะถึงการเป่าแก้วให้เป็นรูปต่างๆ เพราะว่าวัตถุโบราณเหล่านี้เซ็นชื่อ โดยใช้ภาษาซีเรียโบราณที่ขุดพบได้  สำหรับแก้วที่สามารถเจียระไนจนใสนั้น เชื่อว่าคงจะมีมา 600 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวอียิปต์ได้เรียนรู้และค้นคว้า และเมื่อมารวมกับความรู้เรื่องการเป่าแก้วเข้าด้วย ก็มีวัตถุโบราณที่ทำด้วยแก้วในหลายชิ้นที่ขุดพบได้ในปัจจุบัน 
ใน สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ได้ต้อนพวกที่มีความรู้ด้านต่างๆมารวมกันในอาณาจักรอเล็กซานเดรีย ความรู้เรื่องกระจก เลนส์แว่นตา และสายตายังไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้น อย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกว่ากระจก หรือแก้วคิดค้นเพราะความเป็นประกายแวววาวของมัน ต้องเอามาทำเครื่องประดับต่างๆมากกว่า 

พระ เจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ตเมืองต่างๆ เลยมาจนเกือบถึงประเทศอินเดีย ศาสตร์ต่างๆก็แพร่ไปทั่วในเรื่องของกระจก เท่าที่อินเดียมีจารึกไว้ว่ามีกระจกเงา และแก้วหินต่างๆมา 140 ปีก่อนคริสต์กาล หรือประมาณ 2,000 กว่าปี ก่อนในราชวงศ์ฮั่น  สำหรับประเทศไทยในสมัยนั้นยังไม่มีประวัติศาสตร์จารึกว่ามีความรู้เรื่องกระจกเลย การ ทำกระจกสมัยก่อนคริสต์ศักราชนั้นคงเริ่มมาจากพวกฟินีเชียน แล้วก็ไปยังพวกอียิปต์โบราณ จากนั้นก็ไปยังพวกโรมัน และกรีก แพร่ไปทางอินเดียกับจีน อีกทางหนึ่งก็ไปยังยุโรป คือ เยอรมัน อังกฤษ รัสเซีย
ทีนี้มาดูเรื่อง สายตาที่เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้เลนส์ดูบ้าง  ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องการเห็นว่า คน โบราณเขาก็สงสัยทำไมจึงเห็น เช่น พลาโต นักปราชญ์ชาวกรีก ว่า ที่เราเห็นเพราะมีดวงไฟจากตาลอยไปกระทบกับดวงไฟของวัตถุต่างๆ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกอีกคน ว่า ถ้าเป็นอย่างที่ว่า ทำไมกลางคืนจึงไม่เห็นและอะไรอื่นๆอีก นักวิทยาศาสตร์สมัยโบราณที่บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ก็มี อาร์คีมีดีส อีกคน  เขาบันทึกเรื่องทรงกลม ทรงกระบอก และโค้งต่างๆเกี่ยวกับเรื่องกระจก บุคคล ที่ควรได้รับการยกย่องอีกผู้หนึ่งคือ อัลฮาเซ็น เป็นชาวอาหรับเขียนหนังสือระหว่างปี ค.ศ. 1000 เกี่ยวกับเรื่องของการเห็น ทฤษฎีของแสงอื่นๆอีกมากทำไมแว่นตาจึงมีบทบาทสำคัญอยู่ทุก วันนี้ เชื่อว่ามีอยู่สองเรื่องซึ่งคงเป็นจุดเริ่มต้น ก็คือเรื่องกระดาษ และเรื่องของการพิมพ์  เมื่อมีการพิมพ์หนังสือก็ต้องอ่านต้องดูมากขึ้น เรื่องกระดาษนั้นคงมีมาแต่สมัยโรมันแล้ว และชาวจีนก็สามารถทำกระดาษได้เอง ต่อมาก็แพร่ไปทางอาหรับ ส่วนการพิมพ์หนังสือเชื่อกันว่า มี2 ประเทศ ที่เป็นเจ้าตำรับคือ จีนและเยอรมัน 

จาก บันทึกของมาร์โคโปโล ปี ค.ศ. 1270 เขียนเมื่อเดินทางไปยังจีน เขาเห็นพวกผู้ดี และชนชั้นมีอำนาจในจีนใส่แว่น แต่เขาก็คิดว่าเป็นเครื่องประดับ ดูจากประวัติศาสตร์ของจีนจะพบว่าสมัยโบราณพวกผู้ดีมีตระกูลเท่านั้นที่อ่าน เรียนหนังสือได้ และเข้าใจว่าแว่นตาสมัยแรกๆ ที่คิดค้นเพื่อต้องการดูใกล้ก่อน คือเป็นแว่นขยายนั่นเอง และนอกจากนั้นในสมัยขงจื๊อ ก็มีบันทึกเกี่ยวกับการใช้แว่นที่เป็นหินสีต่างๆ เพื่อกันแดด และส่วนมากหน้าเรียบ ที่เคยได้ยินคำว่า จุยเจีย ที่ชาวจีนเรียกกันนั่นเอง บุคคลสำคัญในยุโรป คือ โรเยอร์ เบคอน เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเลนส์ สำหรับอ่านหนังสือ และเขียนรูปของเลนส์นูนไว้ด้วย ในหนังสือของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1272 เขาก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบแว่นตาในกลุ่มพวกแรกในประเทศอื่นๆในยุโรป อีกหลายประเทศที่ตื่นตัวกันมาก เกี่ยวกับการใช้เลนส์เพื่อมองเห็นชัดเจนขึ้นได้แก่ สเปน อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ในอิตาลีเขามีหลุมฝังศพของคนหนึ่งชื่อว่า ชาลวิโน มีบันทึกว่าเขาเป็นคนแรกในการประกอบแว่นตาประมาณปี ค.ศ. 1317 แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงไปกว่านี้
สรุปว่ายังไม่มีชาติ ใดที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นต้นตำรับของแว่นตาอันแรกของโลก แต่ก็มีหลักฐานยืนยันว่า แว่นตา คงเริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 โดยชนชาติต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์ เหล่านี้เป็นต้น โดยใช้เป็นแว่นเลนส์นูนก่อนแน่ และเลนส์พวกนี้เจียมาจากผลึกของแก้ว ไม่ใช่กระจก และกรอบแว่นก็มีหลายแบบหลายอย่าง แต่ไม่มีผู้ใดบันทึกว่าเป็นคนแรกของโลกในการทำกรอบแว่น




ท้ายสุด เฮนรี่ได้ หาข้อมูลสรุปว่า กว่าจะมาเป็นแว่นตา แบบทุกวันนี้ นั้นมาได้ไง 
- กระจกชิ้นแรกของโลก ค้นพบว่ามีมาตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล หรือเมื่อห้าพันกว่าปีก่อน
 
- ค.ศ. 60 จักรพรรดิ์โรมัน นามว่าเนโร ได้ใช้กระจกแว่นตาส่องดูการแข่งขัน Gladiatorจากโคลอสเซียม
 
- แว่นตาตัวแรกได้ถูกประดิษฐุ์ขึ้นมาสำหรับคนสายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness หรือ Hyperopia )
 
- ระยะแรกเลนส์จะทำขึ้นด้วยผลึกแก้วขัดเงา และเปลี่ยนมาใช้กระจกในเวลาต่อมา
 
- ในประวัติศาสตร์บอกว่าแว่นตา(แบบเลนส์คู่) ตัวแรกได้เกิดขึ้นทางตอนเหนือของอิตาลี เมื่อก่อนปีค.ศ. 1280 ซึ่งนับจากนั้นแว่นตาก็ได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา ในยุคแรก ๆ
แว่นตาต้องใช้การยึดติดกับหนีบกับสันจมูกเท่านั้น
 
- จนกระทั่ง Girolamo Savonarola ได้ออกแบบเชือกคล้องแว่นตา ให้สามารถเกาะติดกับศีรษะได้อย่างมั่นคง
- เมื่อปี 1727 ช่างแว่นตาชาวอังกฤษ Edward Scarlett ได้ประดิษฐุ์สุดยอด นวัตรกรรมนั่นคือ... " ขาแว่นตา " ซึ่งทำให้แว่นตาคล้องติดกับหลังใบหู และได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน...
 
- แว่นอ่านหนังสือ เริ่มมีในอิตาลี มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1260
 
- หากเรามานับรวมแล้ว ประวัติศาสตร์ของแว่นตานั้น มีมานานร่วม 5000 ปีแล้วก็ว่าได้...
 

 
โฮะๆๆๆ แว่นตาอยู่มาตั้ง ห้าพันปี เลยหรอนั่น !!!! ขอขอบคุณ คัดลอกมาจากหนังสือสมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาแห่งประเทศไทยภาพประกอบ

https://www.dek-d.com/board/view/1953293/http://www.shop.atth.org/board/photo/660705566660705566.jpghttp://202.129.48.218/sar/photo/Glasses-Spectacles.jpghttp://image.thiswomen.com/images/36127200906236860680.jpghttp://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/71044.jpghttp://campus.sanook.com/story_picture/b/04466_002.jpg